

- เข้าสู่ระบบขอใช้บริการโปรแกรม Quillbot แบบ Premium ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ คลิกที่นี่
- ขั้นตอนขอใช้บริการโปรแกรม Quillbot แบบ Premium ของคณะวิศวกรรมศาสตร์
**กรุณาจองล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วันทำการ หากจองในวันหยุดราชการ อาจจะล่าช้ากว่ากำหนด
1. อาจารย์เข้าระบบ โดยใช้ psu passport
2. อาจารย์ จะจองเพื่อ
- เพื่อใช้งานของตัวเอง
- เพื่อจองให้ นศ. ในที่ปรึกษา (ระบุ รหัส นักศึกษา)
3. ระบุวันเริ่มต้นใช้งาน ระบบจะบวกเพิ่มให้อัตโนมัติ (5 วัน)
4. หลังจากนั้น จนท. กลุ่มคอมฯ จะบันทึก dashboard เพื่อยืนยันในระบบ และจะมีการส่ง invites ผ่าน email ไปยังผู้ใช้งาน
5. ผู้ขอใช้ระบบเข้าไปที่ email เพื่อกดยืนยัน ก็จะเข้าใช้งาน quillbot ได้ทันที
6. เมื่อครบกำหนดใช้งาน จนท. กลุ่มคอมฯ จะ delete email ผู้ใช้งานออกจากระบบ email นั้นก็จะใช้งาน quillbot แบบ premium ไม่ได้
ด้วย สำนักวิจัยและพัฒนา ประชาสัมพันธ์การขอใบรับรองนักวิจัยที่ดำเนินงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี
โดยสามารถกรอกข้อมูลเพื่อยื่นขอใบรับรองได้ที่ https://link.psu.th/ygMrtZ หรือ scan QR Code ดังแนบ
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
หรือสอบถามไปยังคุณสุพรชัย อ่อนคำ โทร. 074-286954 E-mail: supornchai.o@psu.ac.th
เอกสารประกอบการเสนอขอรับทุน Fundamental Fund ประจำปี 2565 ด้านวิศวกรรมและด้านพลังงาน
1. เอกสารประกอบการประชุมของมหาวิทยลัยสงขลานครินทร์
2. เอกสารประกอบการประชุมของคณะวิศวกรรมศาสตร์ (ด้านวิศวกรรมและด้านพลังงาน)
3. OKR ทุน Fundamental Fund ประจำปี 2565
4. ประกาศทุน Fundamental Fund ประจำปี 2565
5. แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการวิจัย : ประเภทโครงการวิจัย Update ล่าสุด
6. แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการวิจัย : ประเภทโครงการนวัตกรรม Update ล่าสุด
7. คู่มือการจัดทำคำของบประมาณสนับสนุนการวิจัยแบบ Fundamental Fund
8. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ใต้
10. FAQ
คำถาม | คำตอบ |
1.ความแตกต่างของ โครงการวิจัย และโครงการนวัตกรรม |
แยกได้จากผลลัพธ์ (Output) ในข้อเสนอโครงการ โดยมีความแยกต่างของคำนิยาม การวิจัย และนวัตกรรม ดังนี้ "การวิจัย" หมายความว่า การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ หรือทดลองอย่างเป็นระบบ อันจะทำให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง ความรู้ใหม่ หรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎี แนวทางในการปฏิบัติเพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ รวมทั้งเพื่อสร้างนวัตกรรมอันจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ "นวัตกรรม" หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ สิ่งประดิษฐ์ บริการ กรรมวิธีที่เกี่ยวกับการผลิต การจัดโครงสร้างองค์กร ระบบบริหารจัดการ การบริหารการเงิน ธุรกิจ การตลาด หรือในการอื่นใด ทั้งนี้ ซึ่งเป็นสิ่งใหม่หรือพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญและนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้างทั้งในเชิงพาณิชย์และสาธารณะ |
2. การยื่นคำขอทุน FF ปี 65 ในระบบ NRIIS |
1. กรณีเป็นโครงการชุด - กรณีเป็นโครงการย่อย สำหรับในปี 65 ให้ใส่เป็นกิจกรรมของชุดโครงการและงบประมาณของชุดโครงการตามข้อ 3 ของแบบฟอร์ม จะต้องระบุงบประมาณรวมในภาพชุดโครงการ
|
3. หากยังไม่ได้แจ้งข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการวิจัย ที่กำหนดส่งภายในวันจันทร์ที่ 16 พ.ย.63 ใน link : https://forms.gle/cRn9mGXqDjvCVYZx5 สามารถเสนอขอรับทุนด้านวิศวกรรมและพลังงาน ได้อีกหรือไม่ |
สามารถเสนอขอรับทุนได้ โดยหมดเขตส่งข้อเสนอโครงการในระบบ NRIIS ภายในวันที่ 30 พ.ย.63 |
4. ต้องระบุค่า Overhead 10% อีกหรือไม่ |
ไม่ต้องระบุค่า Overhead |
5. หากมีความจำเป็นในการจัดหาครุภัณฑ์ต้องดำเนินการอย่างไร |
เนื่องจากครุภัณฑ์โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ไม่สามารถขอรับทุนได้ แต่ครุภัณฑ์เล็กๆ จัดซื้อได้ โดยแนบใบเสนอราคา 3 บริษัทและอ้างอิงบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณ |
6. ไม่สนับสนุนงบประมาณใดบ้าง |
1. ค่าตอบแทนและค่าจ้างนักวิจัย ที่ปรึกษา หรือบุคลากร ของหน่วยรับงบประมาณที่ได้รับ เงินเดือนประจำจากหน่วยรับงบประมาณอยู่แล้ว 2. ค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดอบรม/ สัมมนา ยกเว้นการดำเนินงานดังกล่าวอยู่ในกระบวนการวิจัยของโครงการ เช่น การจัดอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี การจัดสัมมนาระดมความคิด ฯลฯ 3. ค่าที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง รวมถึงค่าปรับปรุงอาคาร ห้องปฏิบัติการ 4. ค่าโครงสร้างพื้นฐาน และครุภัณฑ์ขนาดใหญ่ 5. ค่าซ่อมบำรุง และค่าซ่อมแซมครุภัณฑ์ 6. ค่าครุภัณฑ์สำนักงาน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ตู้ คอมพิวเตอร์ และครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในสำนักงาน เป็นต้น เนื่องจากครุภัณฑ์ดังกล่าวควรต้องจัดซื้อโดยใช้งบประมาณของหน่วยรับงบประมาณเอง 7. ค่าสาธารณูปโภค ได้แก่ ค่าไฟฟ้า, ค่าประปา, ค่าน้ำบาดาล, ค่าบริการโทรศัพท์ (โทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่) ยกเว้นกรณีไปเช่าสถานที่ภายนอกหน่วยงานเพื่อดำเนินงานวิจัย สามารถ ของบประมาณค่าสาธารณูปโภคสำหรับจ่ายค่าสาธารณูปโภคให้แก่เจ้าของสถานที่ได้ 8. ค่าบริการไปรษณีย์ เช่น ค่าไปรษณีย์ ค่าธนาณัติ ค่าดวงตราไปรษณียากร ค่าเช่าตู้ไปรษณีย์ เป็นต้น ยกเว้นงานวิจัยที่จำเป็นต้องติดต่อประสานงาน เช่น ส่งแบบสอบถาม, นัดหมายกลุ่มอาสาสมัคร เพื่อมาเข้าร่วมโครงการ โดยให้โครงการแสดงเหตุผลและความจำเป็นที่ชัดเจนต่อ สกสว. 9. ค่าบำรุงสถาบัน (overhead) ทุกกรณี |
7. ไม่สามารถเข้าระบบ NRIIS ได้ |
โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ประสานงานวิจัยของสำนักวิจัยฯ คุณจิราวัลย์ โทรภายใน 6957 |
8. ตัวชี้วัดเป้าหมายของหน่วยงานที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้โครงการดำเนินการสำหรับทุนสนับสนุนงานพื้นฐาน |
1.ตัวชี้วัดเป้าหมายตรง (ทุกโครงการต้องมี) (1) ผลงานตีพิมพ์ กำหนดงบประมาณโครงการ 500,000 บาทต่อ 1 ชิ้น โดยโครงการทางด้านวิทยาศาสตร์ ตีพิมพ์ในฐานข้อมูล ISI ส่วนโครงการทางด้านสังคมศาสตร์ ตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus 2. ตัวชี้วัดเป้าหมายโดยอ้อม (หากมี จะได้เพิ่มโอกาสในการได้รับจัดสรรทุน) (1) บัณฑิตศึกษา (2) สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร (3) ต้นแบบเทคโนโลยี (4) ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ |
9. เป้าประสงค์ (Objective) และตัวชี้วัดเป้าหมาย (KR) ของหน่วยงาน ในแบบฟอร์มข้อเสนอโครงการคืออะไร |
เป้าประสงค์ (Objective) ของหน่วยงาน คือ อันดับ QS Ranking ที่ 500+ ภายในปี 2567 ตัวชี้วัดเป้าหมาย (KR) ของหน่วยงาน เลือกตอบ - ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ (ISI/Scopus) (KRตรง) - บัณฑิตศึกษา (KR โดยอ้อม) - สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร (KR โดยอ้อม) - ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (KR โดยอ้อม) - ต้นแบบเทคโนโลยี (KR โดยอ้อม) |
ด้วย ม. ขอให้นักวิจัยที่มีผลงานที่เข้าข่ายนวัตกรรม ดำเนินการยื่นแจ้งข้อมูลนวัตกรรมเพื่อขึ้นทะเบียนนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย
ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ภายใต้ระบบ PITI (https://piti-ipop.psu.ac.th) เพื่อรองรับการดำเนินการตามภารกิจและตัวชี้วัดของ ม. ต่อไป
ด้วย ม. ประชาสัมพันธ์การส่งห้องปฏิบัติการเข้าร่วมรับทุนภายใต้โครงการ ม.แม่ข่ายด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ปี 2568
โดยแบ่งทุน 2 ประเภท คือ
1. ห้องพัฒนาด้านความปลอดภัย สนับสนุนทุนละ 10,000 บาท/ห้องปฏิบัติการ
2.ห้องธำรงรักษาระดับด้านความปลอดภัย สนับสนุนทุนละ 5,000 บาท/ห้องปฏิบัติการ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ QR Code ตามเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้
https://drive.google.com/drive/folders/1Qg9ECNuOq5fLwyJU383DmVAuJxe6Fm_W?usp=share_link
โดยขอให้หัวหน้าห้องปฏิบัติการส่งใบสมัครมายัง ก.วิจัย คณะฯ ภายในวันที่ 28 เมษายน 2568