การเสนอขอรับทุน Fundamental Fund ประจำปี 65 ด้านวิศวกรรมและด้านพลังงาน
- Details
- By กลุ่มงานสนับสนุนวิจัยและนวัตกรรม
- Category: ข่าวทุนวิจัย
- Hits: 4915
เอกสารประกอบการเสนอขอรับทุน Fundamental Fund ประจำปี 2565 ด้านวิศวกรรมและด้านพลังงาน
1. เอกสารประกอบการประชุมของมหาวิทยลัยสงขลานครินทร์
2. เอกสารประกอบการประชุมของคณะวิศวกรรมศาสตร์ (ด้านวิศวกรรมและด้านพลังงาน)
3. OKR ทุน Fundamental Fund ประจำปี 2565
4. ประกาศทุน Fundamental Fund ประจำปี 2565
5. แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการวิจัย : ประเภทโครงการวิจัย Update ล่าสุด
6. แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการวิจัย : ประเภทโครงการนวัตกรรม Update ล่าสุด
7. คู่มือการจัดทำคำของบประมาณสนับสนุนการวิจัยแบบ Fundamental Fund
8. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ใต้
10. FAQ
คำถาม | คำตอบ |
1.ความแตกต่างของ โครงการวิจัย และโครงการนวัตกรรม |
แยกได้จากผลลัพธ์ (Output) ในข้อเสนอโครงการ โดยมีความแยกต่างของคำนิยาม การวิจัย และนวัตกรรม ดังนี้ "การวิจัย" หมายความว่า การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ หรือทดลองอย่างเป็นระบบ อันจะทำให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง ความรู้ใหม่ หรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎี แนวทางในการปฏิบัติเพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ รวมทั้งเพื่อสร้างนวัตกรรมอันจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ "นวัตกรรม" หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ สิ่งประดิษฐ์ บริการ กรรมวิธีที่เกี่ยวกับการผลิต การจัดโครงสร้างองค์กร ระบบบริหารจัดการ การบริหารการเงิน ธุรกิจ การตลาด หรือในการอื่นใด ทั้งนี้ ซึ่งเป็นสิ่งใหม่หรือพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญและนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้างทั้งในเชิงพาณิชย์และสาธารณะ |
2. การยื่นคำขอทุน FF ปี 65 ในระบบ NRIIS |
1. กรณีเป็นโครงการชุด - กรณีเป็นโครงการย่อย สำหรับในปี 65 ให้ใส่เป็นกิจกรรมของชุดโครงการและงบประมาณของชุดโครงการตามข้อ 3 ของแบบฟอร์ม จะต้องระบุงบประมาณรวมในภาพชุดโครงการ
|
3. หากยังไม่ได้แจ้งข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการวิจัย ที่กำหนดส่งภายในวันจันทร์ที่ 16 พ.ย.63 ใน link : https://forms.gle/cRn9mGXqDjvCVYZx5 สามารถเสนอขอรับทุนด้านวิศวกรรมและพลังงาน ได้อีกหรือไม่ |
สามารถเสนอขอรับทุนได้ โดยหมดเขตส่งข้อเสนอโครงการในระบบ NRIIS ภายในวันที่ 30 พ.ย.63 |
4. ต้องระบุค่า Overhead 10% อีกหรือไม่ |
ไม่ต้องระบุค่า Overhead |
5. หากมีความจำเป็นในการจัดหาครุภัณฑ์ต้องดำเนินการอย่างไร |
เนื่องจากครุภัณฑ์โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ไม่สามารถขอรับทุนได้ แต่ครุภัณฑ์เล็กๆ จัดซื้อได้ โดยแนบใบเสนอราคา 3 บริษัทและอ้างอิงบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณ |
6. ไม่สนับสนุนงบประมาณใดบ้าง |
1. ค่าตอบแทนและค่าจ้างนักวิจัย ที่ปรึกษา หรือบุคลากร ของหน่วยรับงบประมาณที่ได้รับ เงินเดือนประจำจากหน่วยรับงบประมาณอยู่แล้ว 2. ค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดอบรม/ สัมมนา ยกเว้นการดำเนินงานดังกล่าวอยู่ในกระบวนการวิจัยของโครงการ เช่น การจัดอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี การจัดสัมมนาระดมความคิด ฯลฯ 3. ค่าที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง รวมถึงค่าปรับปรุงอาคาร ห้องปฏิบัติการ 4. ค่าโครงสร้างพื้นฐาน และครุภัณฑ์ขนาดใหญ่ 5. ค่าซ่อมบำรุง และค่าซ่อมแซมครุภัณฑ์ 6. ค่าครุภัณฑ์สำนักงาน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ตู้ คอมพิวเตอร์ และครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในสำนักงาน เป็นต้น เนื่องจากครุภัณฑ์ดังกล่าวควรต้องจัดซื้อโดยใช้งบประมาณของหน่วยรับงบประมาณเอง 7. ค่าสาธารณูปโภค ได้แก่ ค่าไฟฟ้า, ค่าประปา, ค่าน้ำบาดาล, ค่าบริการโทรศัพท์ (โทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่) ยกเว้นกรณีไปเช่าสถานที่ภายนอกหน่วยงานเพื่อดำเนินงานวิจัย สามารถ ของบประมาณค่าสาธารณูปโภคสำหรับจ่ายค่าสาธารณูปโภคให้แก่เจ้าของสถานที่ได้ 8. ค่าบริการไปรษณีย์ เช่น ค่าไปรษณีย์ ค่าธนาณัติ ค่าดวงตราไปรษณียากร ค่าเช่าตู้ไปรษณีย์ เป็นต้น ยกเว้นงานวิจัยที่จำเป็นต้องติดต่อประสานงาน เช่น ส่งแบบสอบถาม, นัดหมายกลุ่มอาสาสมัคร เพื่อมาเข้าร่วมโครงการ โดยให้โครงการแสดงเหตุผลและความจำเป็นที่ชัดเจนต่อ สกสว. 9. ค่าบำรุงสถาบัน (overhead) ทุกกรณี |
7. ไม่สามารถเข้าระบบ NRIIS ได้ |
โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ประสานงานวิจัยของสำนักวิจัยฯ คุณจิราวัลย์ โทรภายใน 6957 |
8. ตัวชี้วัดเป้าหมายของหน่วยงานที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้โครงการดำเนินการสำหรับทุนสนับสนุนงานพื้นฐาน |
1.ตัวชี้วัดเป้าหมายตรง (ทุกโครงการต้องมี) (1) ผลงานตีพิมพ์ กำหนดงบประมาณโครงการ 500,000 บาทต่อ 1 ชิ้น โดยโครงการทางด้านวิทยาศาสตร์ ตีพิมพ์ในฐานข้อมูล ISI ส่วนโครงการทางด้านสังคมศาสตร์ ตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus 2. ตัวชี้วัดเป้าหมายโดยอ้อม (หากมี จะได้เพิ่มโอกาสในการได้รับจัดสรรทุน) (1) บัณฑิตศึกษา (2) สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร (3) ต้นแบบเทคโนโลยี (4) ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ |
9. เป้าประสงค์ (Objective) และตัวชี้วัดเป้าหมาย (KR) ของหน่วยงาน ในแบบฟอร์มข้อเสนอโครงการคืออะไร |
เป้าประสงค์ (Objective) ของหน่วยงาน คือ อันดับ QS Ranking ที่ 500+ ภายในปี 2567 ตัวชี้วัดเป้าหมาย (KR) ของหน่วยงาน เลือกตอบ - ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ (ISI/Scopus) (KRตรง) - บัณฑิตศึกษา (KR โดยอ้อม) - สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร (KR โดยอ้อม) - ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (KR โดยอ้อม) - ต้นแบบเทคโนโลยี (KR โดยอ้อม) |