คำถาม
คำตอบ

อ้างอิงเอกสาร/ระเบียบ/อื่นๆ เพื่ออ่านเพิ่มเติม

1. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
คืออะไร
  • การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ คือ การนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการ/โครงการวิจัย และรายงานการวิจัยอย่างถูกต้อง สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนถึงการนำไปใช้ จนก่อให้เกิดประโยชน์ได้จริงตามวัตถุประสงค์ และได้การรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดและความหมายของการนำผลงานไปใช้ประโยชน์
2. เหตุใดคณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จึงมีความจำเป็นต้องเก็บรวบรวม
ข้อมูลการนำผลงานไปใช้ประโยชน์
  • เนื่องจากการวิจัยเป็นพันธกิจหนึ่งที่สำคัญของมหาวิทยาลัย การดำเนินการตามพันธกิจอย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จนั้นสามารถพิจารณาได้จากผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพและมีประโยชน์สู่การนำไปใช้จากการเปรียบเทียบจำนวนงานวิจัยของอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำที่นำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการวิจัยและรายงานการวิจัยโดยได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
 
3. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
แบ่งออกเป็นด้านใดบ้าง
  • แบ่งออกเป็นด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
    1. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย
    2. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพณิชย์
    3.การนำไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการ
    4.การนำไปใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะ
    5.การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่
 
4. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย
หมายถึงอะไร
  • การนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบายเป็นการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยเชิงนโยบายในการนำไปใช้ประกอบเป็นข้อมูลการประกาศใช้กฎหมาย หรือกำหนดมาตรการ กฎเกณฑ์ต่างๆ โดยองค์กร หรือหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นต้น
 
5. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพณิชย์
หมายถึงอะไร
  • การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพณิชย์ คือ งานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ หรือผลิตภัณฑ์ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ หรือนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นต้น
 
6. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการ
หมายถึงอะไร
  • เป็นการนำผลงานการวิจัย นำไปใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนการสอน หรือสื่อการเรียนรู้ต่างๆ
 
7. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะ
หมายถึงอะไร
  • ผลงานวิจัยที่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณชนในเรื่องต่างๆทีทำให้คุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของประชาชนดีขึ้น ได้แก่การใช้ประโยชน์ด้านสาธารณสุข ด้านการบริหารจัดการสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยภาคประชาชน ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ด้านวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
 
8. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่
หมายถึงอะไร
  • เป็นการนำผลงานการวิจัย ไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เจาะจงพื้นที่นั้นๆ
 
9. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ต้องมีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง
  • ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการวิจัยและรายงานการวิจัยอย่างถูกต้อง
  • สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการประยุกต์ใช้กับกลุ่มเป้าหมาย
  • มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนถึงการนำไปใช้จนก่อให้เกิดประโยชน์ได้จริงอย่างชัดเจนตามวัตถุประสงค์
  • ได้การรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 
10. ใครคือผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการนำ
ผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
  • หน่วยบริหารงานวิจัย นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญา คณะวิศวกรรมศาสตร์ เบอร์โทรศัพท์ 074-287081 หรือ เบอร์ภายใน 749950-51, 7081
http://www.research.eng.psu.ac.th/
11. ใครคือผู้กรอกข้อมูลรายละเอียดของ
ผลงานวิจัยการนำไปใช้ประโยชน์
  • นักวิจัยทุกท่านที่มีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ทั้ง 4 แหล่งทุน ประกอบด้วย รายได้คณะฯ รายได้ ม. แหล่งทุนภายนอก และงบประมาณแผ่นดิน
 
12. การกรอกข้อมูลผลงานวิจัยไป
ใช้ประโยชน์ สามารถกรอกข้อมูล
ณ ช่วงเวลาใด
  • เมื่อมีการนำผลงานวิจัยชิ้นนั้นนำไปใช้ประโยชน์ รวมถึงขณะที่ผลงานวิจัยยังคงมีสถานะไม่สมบูรณ์ก็ตาม
 
13. ขั้นตอนในการดำเนินการกรอก
ข้อมูลการนำผลงานไปใช้ประโยชน์
มีขั้นตอนอะไรบ้าง
  • สามารถเข้าชมขั้นตอนการกรอกข้อมูลดังลิ้งค์ที่แนบมานี้
ขั้นตอนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
14. สามารถดาวน์โหลดเอกสารการ
นำผลงานไปใช้ประโยชน์จากแหล่งใด
  • สามารถดาวน์โหลดเอกสารดังลิ้งค์ที่แนบมานี้
ตัวอย่างแบบฟอร์มการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
15. จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีการประเมิน
มูลค่าเป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจของ
ผลงานวิจัย
  • เนื่องจากผลงานวิจัยบางผลงานไม่สามารถประเมินค่าได้ ก็สามารถตอบ “ไม่สามารถประเมินค่าได้” แต่หากสามารถประเมินมูลค่าเป็นตัวเลขก็จะสามารถนำมาเปรียบเทียบให้เป็นรูปธรรมเห็นชัดขึ้น
 
16. การนับงานวิจัยที่นำมาใช้ประโยชน์
จะนับตามปีปฏิทินหรือปีงบประมาณหรือ
ปีการศึกษา
  • ปัจจุบันนับเป็นปีปฎิทิน ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค.
 
17. ในการอบรมโดยวิทยากร
สมศ.ปีก่อน บอกให้นับสิทธิบัตรใน
สมศ.6 ได้ แต่นับอนุสิทธิบัตรไม่ได้
คำถามคือ ต้องเป็นสิทธิบัตรที่จดทะเบียน
(ได้เลขทะเบียน) ในปี 2555 ด้วยหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาเรานับสิทธิบัตรทุกชิ้นที่ยัง
มีอายุอยู่ในปีที่รายงาน
  • สิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรนับได้ในปีที่แจ้งจด เท่านั้น ไม่นับสิทธิบัตรทุกชิ้นที่ยังมีอายุอยู่ในปีที่รายงาน เนื่องจากผลงานสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรนี้สามารถสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ และถ้ามีการแสดงให้เห็นว่ามีรายได้จากสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรก็ยิ่งดี เพราะ สมศ.6 ไม่ได้กล่าวถึงสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรโดยตรงแต่กล่าวถึงการพัฒนาสิ่ง ประดิษฐ์และผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดรายได้หรือนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิต ซึ่งก็สามารถอนุโลมได้
 
18. การถ่ายทอดเทคโนโลยีตาม
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย โดยการให้สัมภาษณ์สื่อ ลงข่าวในหนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ ซึ่งถือว่าเป็นการเผยแพร่งานวิจัยเช่นกัน โดยไม่มีหน่วยงานไหนทำหนังสือรับรอง จะนับได้หรือไม่
  • สามารถนับได้ เพราะมีหลักฐานการใช้ประโยชน์
 
19. การใช้ประโยชน์นับในปีใด และหากเป็นการนำไปใช้ประโยชน์หลายปีจะนับอย่างไร
  • นับปีที่ใช้ จะนับได้อีกหากมีการต่อยอด หรือใช้ในต่างพื้นที่ หรือต่างองค์กร
 
20. เกณฑ์การวัดค่าผลงานการนำไปใช้ประโยชน์ สามารถวัดได้อย่างไร
  • ผลรวมของจำนวนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ x 100
    จำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำทั้งหมด
  • เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ20 เท่ากับ 5 คะแนน ทุกกลุ่มสาขาวิชา
 
21. กรณีที่งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์มีการนำไปใช้ประโยชน์มากกว่า 1 ครั้ง ควรนับอย่างไร
  • ควรนับได้แค่ ครั้งเดียว
 
22. หากอาจารย์ลาศึกษาต่อ จะนำมานับรวมในส่วนการให้คะแนนด้วยหรือไม่
  • นับรวมอาจารย์และนักวิจัยประจำที่ลาศึกษาต่อ ทั้งนี้ให้รายงานย้อนหลัง 3 ปี จนถึงปีการศึกษาที่ประเมิน
 
23. หลักฐานอะไรบ้าง ที่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณา
  • ภาพถ่ายกิจกรรมการจัดงาน จัดประชุม ใบลงทะเบียน เอกสารการลงนามการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์