ที่ ชื่อรางวัล เดือน
มค กพ มีค เมย พค มิย กค สค กย ตค พย ธค

1

รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น 
หน่วยงาน: มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

 ✔
มค
                     
  คุณสมบัติ:
1. ต้องมีสัญชาติไทย
2. จะต้องเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อผ่านผู้เสนอชื่อที่คณะกรรมการฯ ได้เชิญอย่างเป็นทางการหรือที่มีผลงานดีเด่นอันเป็นประจักษ์จากการสืบค้นจาก ฐานข้อมูล
อนึ่งผลงานของผู้ถึงแก่กรรมแล้วจะไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับ การพิจารณา ยกเว้นในกรณีผู้นั้นได้ถึงแก่กรรมหลังจากที่ได้มีการ เสนอชื่อมายังคณะกรรมการฯ แล้ว

2

รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่
หน่วยงาน: มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
 ✔
มค
                     
  คุณสมบัติ:
รางวัลจำนวนปีละไม่เกิน 6 รางวัล มอบให้แก่นักวิทยาศาสตร์สัญชาติไทยที่มีอายุไม่เกิน 35 ปี  มี ผลงานวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ และสาขาวิชาทีเกี่ยวข้อง และได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยด้านพื้นฐานที่มีคุณภาพดีและเผยแพร่ใน วารสารที่มีมาตรฐานจำนวนไม่น้อยกว่า 3 เรื่อง โดยผู้เสนอควรจะเป็นผู้วิจัยหลัก (Major contributor) ทั้งนี้ต้องไม่เป็นผลงานวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เพื่อรับปริญญา ระดับใดระดับหนึ่งและเป็นผู้ที่ทำการวิจัย และพัฒนาวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง มีคุณธรรมและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

3

รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของสภาวิทยาศาสตร์สำหรับประเทศกำลังพัฒนา (TWAS Prize for Young Scientists in Thailand)
หน่วยงาน: สภาวิทยาศาสตร์สำหรับประเทศกำลังพัฒนา (The Academy of Sciences for the Developming World-TWAS)

     ✔
มีค
                 
  คุณสมบัติ:
เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศของสำนัก งานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กับ TWAS (Academy of Sciences for the Developing World) หรือ สภาวิทยาศาสตร์สำหรับประเทศกำลังพัฒนา ภายใต้การสนับสนุนของ UNESCO ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมโครงการจำนวน 43 ประเทศทั่วโลก เพื่อส่งเสริมและประกาศเกียรติคุณนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของประเทศไทยที่ มี อายุไม่เกิน 40 ปี โดย คัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติใน 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน คือ ชีววิทยา เคมี คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ โดยมีการมอบรางวัลปีละ 1 รางวัล หมุนเวียนกันไปแต่ละปีตามลำดับ

4

รางวัลนักชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลดีเด่น 
หน่วยงาน: สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

     ✔
มีค
                 
  คุณสมบัติ:
1. เป็นผู้ทำงานประจำภายใต้สังกัดหน่วยงานในประเทศไทย
2. อายุไม่เกิน 45 ปี
3. มีผลงานวิจัยด้านชีวเคมีและขีววิทยาโมเลกุลที่มีคุณภาพดีมาก และเผยแพร่ในวารสารวิชาการมาตรฐานระดับนานาชาติ โดยเป็นผู้เขียนชื่อแรก หรือ corresponding author หรือผู้ควบคุมงานวิจัยหลัก จำนวนไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง ทั้งนี้ ต้องเป็นผลงานวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ของผู้สมัคร/ผู้ได้รับ การเสนอชื่อ และเป็นผลงานที่ทำในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่

5

รางวัลผลงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อชุมชน 
หน่วยงาน: ม.สงขลานครินทร์

     ✔
มีค
                 
  คุณสมบัติ:
ผลงานที่มีสิทธิได้รับรางวัล
1. เจ้าของผลงาน (นักวิจัยหลัก) เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ยังคงปฏิบัติงานอยู่ใน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมีผลงานวิจัยต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน 
2. เป็นผลงานวิจัยที่มีคุณค่าหรือศักยภาพที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เกิดกระบวนการเรียนรู้ และ/หรือมีประโยชน์ต่อชุมชนในด้านสังคมและวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของประชาชน การพัฒนาคุณภาพชีวิต การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม นโยบายของทางราชการ หรืออื่นๆ
3. เป็นผลงานวิจัยที่แล้วเสร็จไม่เกิน 5 ปี หรืออยู่ระหว่างดำเนินการและมีผลกระทบต่อชุมชนโดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน

6

ผลงานดีเด่นสาขาการวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านสังคมศาสตร์
หน่วยงาน: ม.สงขลานครินทร์

     ✔
มีค
                 
  คุณสมบัติ:
เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผลงาน 
1. ผลงานพิจารณาจากผลลัพธ์ของงานที่มีคุณภาพในลักษณะที่เป็นการบุกเบิกและหรือขยายพรมแดนความรู้ กำหนดค่าน้ำหนักเป็นร้อยละ 40
2. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ กำหนดค่าน้ำหนักเป็นร้อยละ 40 
3. การสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย/การได้รับรางวัล/การได้รับการยกย่อง ในระดับนานาชาติ/ภูมิภาค/ชาติ กำหนดค่าน้ำหนักเป็นร้อยละ 20

7

ผลงานดีเด่นสาขาการประดิษฐ์
หน่วยงาน: ม.สงขลานครินทร์

     ✔
มีค
                 

 

คุณสมบัติ:
เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผลงาน 
1. ผลงานพิจารณาจากผลลัพธ์ของงานที่มีคุณภาพในลักษณะที่เป็นการบุกเบิกและหรือขยายพรมแดนความรู้ กำหนดค่าน้ำหนักเป็นร้อยละ 40
2. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ กำหนดค่าน้ำหนักเป็นร้อยละ 40 
3. การสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย/การได้รับรางวัล/การได้รับการยกย่อง ในระดับนานาชาติ/ภูมิภาค/ชาติ กำหนดค่าน้ำหนักเป็นร้อยละ 20

8

รางวัลนวัตกรรมสงขลานครินทร์
หน่วยงาน: ม.สงขลานครินทร์

     ✔
มีค
                 

 

คุณสมบัติ:
ผลงานของนักศึกษาที่เป็นผลิตภัณฑ์ ผลิตผล สินค้า ระบบ กระบวนการ วิธีการ หรือการบริการใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพดีขึ้นหรือมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นผลจากการใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะและประสบการณ์ที่เกิดจากงานวิจัยหรือโครงงานนักศึกษา หรือวิชาอื่น ๆ ในหลักสูตร และผลงานที่เสนอขอรับรางวัลต้องไม่เคยได้รับรางวัลระดับชาติหรือนานาชาติมาก่อน
สาขาของนวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 สาขา ดังนี้
1. นวัตกรรมสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. นวัตกรรมสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์
3. นวัตกรรมสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

9

รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 
หน่วยงาน: สภาวิจัยแห่งชาติ

       ✔
เมย
               

 

คุณสมบัติ:
นักวิจัยซึ่งได้อุทิศตนให้กับการวิจัย เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายเรื่องในกลุ่มวิชาการหรือสหวิทยาการอย่างต่อเนื่อง มีผลงานวิจัยดีเด่นที่แสดงถึงความคิดริเริ่ม และเป็นผลงานวิจัยที่สะสมกันมา ทั้งเป็นผู้ที่มีจริยธรรมของนักวิจัยจนเป็นที่ยอมรับและยกย่องในวงวิชาการนั้น ๆ สมควรเป็นแบบอย่างแก่นักวิจัยผู้อื่น ใน 8 สาขาวิชาการ
1. สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
2. สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
3. สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
4. สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
5. สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
6. สาขาปรัชญา
7. สาขาสังคมวิทยา
8. สาขาการศึกษา

10

รางวัลผลงานวิจัย
หน่วยงาน: สภาวิจัยแห่งชาติ

       ✔
เมย
               

 

คุณสมบัติ:
การเสนอขอรับรางวัล
(1) ผู้เสนอผลงานอาจเป็นบุคคล/คณะบุคคล/นิติบุคคล/หน่วยงาน 
(2) ลักษณะของผลงานที่เสนอขอรับรางวัล 
   1)ไม่เป็นวิทยานิพนธ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการรับปริญญา หรือวุฒิบัตรของผู้ขอรับรางวัล
   2)ต้องเป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย 
   3)เป็นผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง ใช้วิธีวิเคราะห์ หรือสังเคราะห์ที่เหมาะสมอย่างยิ่ง มีความชัดเจน มีประสิทธิผล และเป็นผลงานวิจัยที่สำเร็จสมบูรณ์ ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ หรือเสนอในการประชุมทางวิชาการแล้ว

11

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น
หน่วยงาน: สภาวิจัยแห่งชาติ

       ✔
เมย
               

 

คุณสมบัติ:
การเสนอผลงานเพื่อขอรับรางวัล
(1) ผู้ประดิษฐ์คิดค้นต้องมีสัญชาติไทย แต่ในกรณีดาเนินการประดิษฐ์คิดค้นเป็นคณะ ผู้เป็นหัวหน้าผู้ประดิษฐ์ต้องมีสัญชาติไทย ซึ่งอาจมีชาวต่างชาติเป็นผู้ร่วมการประดิษฐ์คิดค้นด้วยก็ได้ 
(2) หลักเกณฑ์ใดหลักเกณฑ์ฑ์หนึ่ง หรือหลายหลักเกณฑ์ ดังนี้
  1) เป็นผลงานที่เกิดจากความคิดริเริ่ม และความเพียรพยายามของผู้ประดิษฐ์คิดค้นเอง ซึ่งเป็นของใหม่ หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น
  2) ทรัพยากรที่ใช้ในการประดิษฐ์คิดค้น ส่วนใหญ่เป็นทรัพยากรที่มีในประเทศไทย
  3) มีประโยชน์หรือมีคุณค่าต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และ/หรือ การพัฒนาประเทศ
  4) เป็นผลงานที่มีคุณค่าทางวิชาการ
  5) เป็นผลงานที่มีศักยภาพในการพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือนาไปใช้ประโยชน์ในทางอื่นได้
  6) เป็นสิ่งที่ได้พิสูจน์หรือประจักษ์ชัดอย่างเป็นรูปธรรมแล้วว่าเป็นประโยชน์ แก่เศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงต่อประเทศชาติ

12

รางวัลผลงานการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย
หน่วยงาน: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

       ✔
เมย
               

 

คุณสมบัติ:
รายงานการวิจัย และ / หรือวิทยานิพนธ์ ในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ต้องเป็นผลงานที่ให้ข้อมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับจิตใจ พฤติกรรมไทย และสังคมไทย และเป็นผลงานที่ให้ข้อมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุ กระบวนการและผลของพฤติกรรมด้านหนึ่งหรือหลายด้าน โดยเฉพาะด้านพฤติกรรมจริยธรรม พฤติกรรมประชาธิปไตย พฤติกรรมสิ่งแวดล้อมและสาธารณประโยชน์ พฤติกรรมสุขภาพกาย สุขภาพจิตและการบริโภค พฤติกรรมครอบครัว พฤติกรรมการทำงาน และพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดี นอกจากนี้ยังต้องเป็นผลงานเชิงปริมาณที่มีคุณภาพสูง อยู่บนพื้นฐานแนวคิดทฤษฎีที่ผ่านการตรวจสอบแล้วว่ามีความเหมาะสมกับพฤติกรรม ของคนไทย ใช้วิธีวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ ที่เหมาะสม มีความชัดเจน และมีประสิทธิผล นับเป็นผลงานที่สำเร็จสมบูรณ์ และได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการรวมทั้งยังต้องเป็นผลงานวิจัยที่ ทำให้องค์ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของคนไทยเป็นหลักโดยอาจจะเป็นการศึกษา เปรียบเทียบคนไทยกับคนชาติอื่นก็ได้

13

รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น
หน่วยงาน: มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

       ✔
เมย
               

 

คุณสมบัติ:
เป็นรางวัลที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อมอบให้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องจนเห็นเป็นรูปธรรม สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับประเทศได้ ผลงานหลักที่เสนอเพื่อรับรางวัลควรจะเป็นผลงานที่อยู่ในรูปต้นแบบ (prototype) สิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญารูปแบบต่างๆ รายงานทางเทคนิคที่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง (technical report) และผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ที่สามารถแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ ความโดดเด่นและนวัตกรรมของเทคโนโลยีนั้น ที่จะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการพึ่งพาตนเองและสามารถแข่งขันได้

14

รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ 
หน่วยงาน: มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

       ✔
เมย
               

 

คุณสมบัติ:
สมัครด้วยตนเองหรือเสนอชื่อ อายุไม่เกิน 38 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่สิ้นสุดการรับสมัคร (30 เมษายน 2558) วัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่ที่เริ่มมีผลงานวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยีที่เป็นที่ประจักษ์ถึงศักยภาพและความทุ่มเทในการที่จะพัฒนาเทคโนโลยีในสาขาที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง 

15

การประกวดนวัตกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร เพื่อการพึ่งพาตนเองและชุมชน : ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา อ้อย และ ปาล์มน้ำมัน
หน่วยงาน: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

         ✔
พค
             

 

คุณสมบัติ:
ส่งเสริมและสนับสนุนคนไทยที่มีความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ เพื่อยกระดับคุณภาพและเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา อ้อย และ ปาล์มน้ำมัน จึงต้องมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรได้ใช้เทคโนโลยีประเภทนวัตกรรม ใหม่ทางการเกษตรที่เหมาะสมและทันสมัยตามความต้องการและศักยภาพของเกษตรกรที่ มีทุนทรัพย์เพียงพอจะสามารถลงทุนได้ 

16

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)
หน่วยงาน: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)

               ✔
สค
       

 

คุณสมบัติ:
ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นผลงานที่มีการนำไปใช้จริงหรือจำหน่ายในเชิงพาณิชย์แล้วเท่านั้น 
ประเภทรางวัล
- ด้านเศรษฐกิจ
- ด้านสังคม
การให้คะแนนจะพิจารณาจาก
   * ระดับของความใหม่ ในระดับโลก ประเทศหรือบริษัท
   * กระบวนการบริหารจัดการ ต้องสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและการบริหารจัดการ มีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ รวมทั้งการใช้วัตถุดิบและทรัพยากรภายในประเทศ
   * ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและสังคม ก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งส่งผลต่อชุมชนท้องถิ่น และเศรษฐกิจระดับรากหญ้า

17

รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมูลนิธิโทเร ประเทศไทย (TTSF)
หน่วยงาน: มูลนิธิโทเร เพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย

                 ✔
กย
     

 

คุณสมบัติ:
รางวัลนี้มอบให้กับ
1.1 บุคคล คณะบุคคลหรือหน่วยงานที่มีความสามารถสูงและประสบความสำเร็จในงานด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
1.2 บุคคล คณะบุคคลหรือหน่วยงานที่ค้นพบวิทยาการใหม่ในงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.3 บุคคล คณะบุคคลหรือหน่วยงานที่ค้นคว้างานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จะยังประโยชน์แก่สังคมอย่างกว้างขวาง
ขอบเขตงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่พิจารณา
1 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
2 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เช่น วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์พลังงาน เป็นต้น
3 เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์
4 เกษตรศาสตร์รวมทั้งสัตวแพทยศาสตร์
5 นวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยังประโยชน์แก่สังคมอย่างกว้างขวาง
(ยกเว้น คณิตศาสตร์และแพทยศาสตร์คลินิก)

18

รางวัลทะกุจิ
หน่วยงาน: สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย

                 ✔
กย
     

 

คุณสมบัติ:
# รางวัลทะกุจิ ประเภทนักวิจัยดีเด่น
- สัญชาติไทย อายุไม่เกิน 45 ปี
- มีคุณธรรมและอุทิศตนเพื่องานวิชาการทางเทคโนโลยีชีวภาพที่เป็นประโยชน์ สำหรับ ประเทศไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอสมควร
- มีผลงานวิจัยดีเด่นในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
- เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติอยู่บนพื้นฐานของคุณภาพ ศักยภาพ และประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง
# รางวัลทะกุจิ ประเภทวิทยานิพนธ์ดีเด่น (ระดับปริญญาโท/ปริญญาเอก)
- สัญชาติไทย
- วิทยานิพนธ์ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
- ทำวิจัยในประเทศไทยเป็น ส่วนใหญ่ และทำสำเร็จมาแล้วไม่เกิน 3 ปี

19

รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ของโครงการมนุษย์และชีวมณฑล (MAB)
หน่วยงาน: UNESCO

                     ✔
พย
 

 

คุณสมบัติ:
เพื่อสนับสนุนให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ (อายุไม่เกิน 40 ปี) ได้ใช้งานวิจัย สถานที่และเขตสงวนชีวมณฑล ในการวิจัยและฝึกอบรมได้ศึกษาเปรียบเทียบกับสถานที่อื่นทั้งในและนอกประเทศ ของตน เพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนข้อมูล/ประสบการณ์ในหมู่นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ โดยต้องทำงานวิจัยให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี และส่งรายงานการวิจัยให้สำนักเลขาธิการ MAB รวมทั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยมนุษย์และชีวมณฑลของประเทศตน และยินยอมให้ยูเนสโกจัดพิมพ์ผลงานวิจัยด้วย

20

การประกวดนวัตกรรมมุ่งเป้า (ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา อ้อย และปาล์มน้ำมัน)
หน่วยงาน: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

                     ✔
พย
 

 

คุณสมบัติ:
เพื่อสนับสนุน ผลักดัน และสร้างแรงจูงใจให้เกิดการวิจัย สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์แบบมุ่งเป้า ที่สามารถนำไปใช้ตามความต้องการและความจำเป็นเร่งด่วนของเกษตรกร ร่วมทั้งสามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อยกระดับคุณภาพและเพิ่มปริมาณผลผลิตการเกษตร พืชเศรษฐกิจหลักทีสำคัญได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา อ้อย และ ปาล์มน้ำมัน ในระดับอุตสหากรรมและพาณิชยกรรม ผู้มีสิทธิเสนอผลงาน นิสิต นักศึกษา อาจารย์ นักประดิษฐ์ นักวิจัย และบุคคลทั่วไปภาครัฐและภาคเอกชน

21

ทุนเมธีวิจัยอาวุโส สกว.
หน่วยงาน: สกว.

                     ✔
พย
 

 

คุณสมบัติ:
เป็นนักวิจัยชั้นนำที่มีผลงานดีเด่น เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็น หัวหน้าทีมวิจัย สามารถพัฒนาทีมงาน พัฒนาผลงาน และพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่