FAQs : ด้านทรัพย์สินทางปัญญา
คำถาม
|
คำตอบ
|
อ้างอิงเอกสาร/ระเบียบ/อื่นๆ เพื่ออ่านเพิ่มเติม
|
1. ระยะเวลาในการคุ้มครองสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร?
|
- สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีระยะเวลาในการคุ้มครอง 20 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นจดทะเบียน
- สิทธิบัตรการออกแบบ มีระยะเวลาการคุ้มครอง 10 ปี นับตั้งแต่ยื่นขอจดทะเบียน
- อนุสิทธิบัตร มีระยะเวลาการคุ้มครอง
6 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นขอจดทะเบียนและสามารถต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี
|
|
2. แบบฟอร์มที่ใช้ในการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร?
|
- แบบฟอร์มสำรวจความสนใจ/ความต้องการรับบริการ
- แบบฟอร์มเปิดเผยข้อมูลการประดิษฐ์
- แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตรแบบ สป/สผ/อสป/001-ก
- รายละเอียดการประดิษฐ์
- หนังสือสัญญาโอนสิทธิ
|
http://www.research.eng.psu.ac.th/ index.phpoption=com_content&view =section&id=8&Itemid=88
|
3. คำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ประกอบด้วย? |
- รายละเอียดการประดิษฐ์
- ข้อถือสิทธิ
- รูปเขียน (ถ้ามี)
- บทสรุปการประดิษฐ์
|
|
4. โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทใด? |
ในประเทศไทยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทลิขสิทธิ์ ให้ความคุ้มครองตามพระราชบัญํติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยไม่ต้องมีการยื่นขอจดสิทธิบัตร/อนุสิทิบัตร แต่จะได้รับการคุ้มครองทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงานโดยต้องเป็นงานที่กฎหมายคุ้มครองซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้าข่ายลิขสิทธิ์ของกลุ่มทางด้านวิทยาศาสตร์
|
|
5. ขั้นตอนในการขอรับสิทธิบัตร/ อนุสิทธิบัตรต้องดำเนินการอย่างไร? |
- ดาวน์โหลดและกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มสำรวจความสนใจ/คามต้องการรับบริการ
- ดาวน์โหลดและกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มเปิดเผยข้อมูลการประดิษฐ์
- ร่างราละเอียดการประดิษฐ์ ตามหลักเกณฑ์การร่างคำขอรับสิทธิบัตร
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาฯ ของมหาวิทยาลัย ตรวจสอบร่างคำขอสิทธิบัตร/
อนุสิทธิบัตรเบื้องต้น
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาฯ ส่งร่างคำขอสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ที่ตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว ให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง
- แจ้งแก้ไขร่างคำขอรับสิทธิบัตร แก่ผู้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
- ผู้ยื่นคำขอคำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ดำเนินการยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้อง
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดำเนินการจัดส่งเอกสารไปยังกรมทรัพย์สินทางปัญญาต่อไป
|
http://www.research.eng.psu.ac.th/ index.phpoption=com_content&view= article&id=187&catid=63&Itemid=88 |
6. สิ่งประดิษฐ์ประเภทใดบ้างที่กฏหมายไม่อนุญาตให้จดทะเบียน |
- จุลินทีรย์ และส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์ หรือพืช
- กฏเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
- ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
- วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์ (ยกเว้นเครื่องมือแพทย์)
- การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี อนามัย หรือสวัสดิภาพของประชาชน
|